บริการจัดหาพนักงานฝ่ายควบคุมคุณภาพ

บริการจัดหาฝ่ายคุณภาพ บริษัทจัดหา หาพนักงานประจำ/ชั่วคราว ทุกตำแหน่ง รวดเร็ว ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการ จนถึงพนักงานทักษะสูง. ซับคอนแทรค บริษัทจัดหางาน ชลบุรี

ตำแหน่งงาน QC คืออะไร? คุณสมบัติและหน้าที่สำคัญที่ควรรู้

QC หรือ Quality Control เป็นวิชาเรียนที่อยู่ในภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหกรรม ซึ่ง Quality Control หรือ QC นี้เป็น Apply Science ที่มาจาก Pure Science ในวิชาสถิติ Statistic ดังนั้น คนที่มีความรู้ พื้นฐานทางด้านวิชาสถิติอย่างลึกซึ้งจะเป็นคนที่ทำงาน QC ได้ง่าย และสามารถตัดสินใจได้ในทุกสถานการณ์ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดมาตรฐาน Upper Lower Limit ของการตรวจสอบเพื่อตัดสินใจว่า สินค้าที่ผลิตนั้น อยู่ในช่วงที่ยอมรับได้หรือไม่ รวมไปถึงความสามารถในการคำนวณว่า Defect ที่เกิดขึ้น จะมีความเสี่ยงกี่เปอร์เซ็นต์ในการนำสินค้าไปใช้ต่อ และจะยอมรับความเสี่ยงนั้นได้หรือไม่ รวมไปถึงแม้กระทั่งความสามารถในการคำนวณว่า ภายใต้เงื่อนไขต่างๆ จะพบเจออย่างไร

หน้าที่ของพนักงาน QC จริงๆแล้ว พนักงาน QC นั้นจะเป็นคนที่เปรียบเสมือน ผู้ควบคุมกฎให้ทุกอย่างที่กำลังดำเนินการอยู่ ทั้งในเรื่องของการผลิตสินค้า ให้เป็นไปตามมาตรฐานอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ

  • มาตรฐานความยาวของชิ้นส่วนต่างๆที่ถูกกำหนดไว้ว่าจะต้องเป็นเท่าไหร่
  • มาตรฐานของน้ำหนักของสินค้าแต่ละชิ้น
  • มาตรฐานปริมาตรของสินค้าแต่ละชิ้น
  • หรือแม้แต่มาตรฐานอื่นๆที่ใช้ในการผลิตทางด้านวิศวกรรม เช่น ความเร็วรอบต่อนาที ระดับเสียงหรืออื่นๆแล้วแต่ว่าสินค้าตรงนั้นถูกกำหนดให้มีมาตรฐานที่ต้องควบคุมการผลิตในเรื่องใดบ้าง

สิ่งที่พนักงาน QC จะต้องทำ

1. การตรวจสอบ

ตรวจสอบแบบที่ได้รับทั้งหมดว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในแบบนั้น ถูกต้องตามมาตรฐานที่ถูกกำหนดไว้ ก่อนนำไปทำการผลิตจริง เพื่อให้แน่ใจว่า ต้นฉบับของแบบพิมพ์เขียวที่ต้องใช้ในการผลิตนั้นถูกต้อง 100% เพราะหากผิดพลาดตั้งแต่ขั้นตอนนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำมาจะผิดพลาดอย่างแน่นอน ดังนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนกระดาษ ที่จะใช้เป็นต้นแบบในการทำจริงนั้น จะต้องได้รับการตรวจสอบอีกครั้งโดย QC เพื่อให้แน่ใจว่าทุกอย่างถูกต้อง

2. กำหนดขั้นตอนการผลิต

ในการผลิต ต้องกำหนดขั้นตอนการตรวจสอบ และความถี่ หรือปริมาณการตรวจสอบในแต่ละขั้นตอนให้ชัดเจนว่า ในขั้นตอนใดต้องตรวจสอบอะไรบ้าง และจำนวนมาตรฐานที่ยอมรับได้ว่า หากมีความผิดพลาดในส่วนนี้เท่าไหร่ ถึงจะยอมรับว่า การผลิตนั้นยังปล่อยให้ผ่านไปได้ หรือความผิดพลาดที่เลยจากจุดใดไปแล้วไม่สามารถจะปล่อยให้ผ่านไปได้

3. การวางแผน

ต้องมีการวางแผนในภาพรวมว่า ในแต่ละขั้นตอนการผลิตจุดตรวจสอบต่างๆ ถ้ามีความผิดพลาดจุดใดจุดหนึ่งจะปล่อยให้ผ่านได้ แต่หากมีความผิดพลาดหลายๆจุดรวมกันแม้จะผ่านจุดใดจุดหนึ่งได้ แต่หากมีความผิดพลาดในทุกๆจุดรวมกันหลายๆจุด เราจะยอมให้ในภาพรวมนั้น ผ่านไปได้หรือไม่

ยกตัวอย่างเช่น การผิดพลาดในจุดที่ 1 ปล่อยให้ผ่านได้

การผิดพลาดในจุดที่ 2 ปล่อยให้ผ่านได้

การผิดพลาดในจุดที่ 3 ปล่อยให้ผ่านได้

แต่สิ่งที่สำคัญ ก็คือ เมื่อนำความผิดพลาดของจุดที่ 1, 2 และ 3 มารวมกันในภาพรวมแล้ว จะยังคงปล่อยให้ผ่านไปหรือไม่ เนื่องจากมีความผิดพลาดทั้ง 3 จุดอย่างต่อเนื่องมาทำให้ภาพรวม มีความเสี่ยงสูงมาก QC จึงต้องตัดสินใจว่าจะปล่อยให้ผ่านไปหรือไม่ในภาพรวม

4. การเก็บข้อมูล

ต้องมีการเก็บข้อมูลบันทึกข้อมูลอย่างละเอียด เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ทางด้านสถิติ และตัดสินใจได้ว่าจะยอมรับความเสี่ยงได้แค่ไหน เพราะในทางเศรษฐกิจนั้น

ระดับการควบคุมคุณภาพมีตั้งแต่ 100% คือ ตรวจสอบทุกชิ้นและต้องผ่านทุกชิ้น หากไม่ผ่านแม้แต่ชิ้นเดียว ถือว่าไม่ให้ผ่านเลย

หรือการตรวจสอบที่ระดับความเชื่อมั่น 99%

หรือที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

หรือที่ระดับความเชื่อมั่น 90%

นั่นหมายความว่า ในการผลิตสินค้าครั้งนั้น หากกำหนดมาตรฐาน 100% สินค้าชุดนั้นอาจจะไม่ผ่านการควบคุมคุณภาพและทำให้เกิดความสูญเสียทันที จึงเป็นสินค้าที่มีราคาสูงมาก เพราะต้นทุนในการควบคุมคุณภาพที่ 100% นั้นสูงมาก ความเสี่ยงสูงมาก จึงทำให้ราคาสินค้าเหล่านั้นต้องสูงมากด้วยเช่นกัน

หากสินค้าชุดเดียวกันนี้ ใช้มาตรฐานการควบคุมคุณภาพความเชื่อมั่น 90% เท่านั้น นั่นหมายความว่า อาจจะผ่านมาตรฐานตรงนี้ได้อย่างสบายมากเพราะมีความผิดพลาดได้ถึง 10% แต่นั่นก็หมายถึง จะมีความเสี่ยงที่เกิดขึ้น หลังจากสินค้าตัวนี้ ออกสู่ตลาดแล้ว และ 10% ที่เกิดความผิดพลาดนั้น เริ่มส่งผลให้ลูกค้ารับรู้ว่า สินค้าตัวนี้มีปัญหา ซึ่งส่วนนี้ อาจจะมีต้นทุนสูงกว่าระยะยาวในการเรียกสินค้าคืนทั้งหมด และชดเชยค่าเสียหายให้กับลูกค้า จากความผิดพลาดที่มีความตั้งใจปล่อยผ่านหรือพูดง่าย ๆ คือยอมรับความเสี่ยงที่จะปล่อยสินค้าตัวนี้ออกไปสู่ตลาดทั้ง ๆ ที่มีความผิดพลาด 10%

5. ต้องรู้พื้นฐานสถิติ

QC ต้องเป็นคนที่มีพื้นฐานความรู้ด้านสถิติอย่างลึกซึ้ง เพราะสิ่งนี้ต้องใช้ในการตัดสินใจ ก่อนที่จะถึงมือของ QA ว่า สินค้าเหล่านี้จะปล่อยไปสู่ท้องตลาดหรือไม่ เพราะหากในขั้นตอนนี้ QC ทำงานได้อย่างถูกต้อง นั่นหมายความว่า เมื่อถึงปลายทางที่ QA จะต้องทำการสุ่มตรวจอีกครั้งก่อนปล่อยสินค้านั้น สินค้าก็จะผ่านมาตรฐานและผ่านการสุ่มเช็คแน่นอน เนื่องจากทุกอย่างสมบูรณ์แบบ และเรียบร้อยในขั้นตอนของ QC นี้แล้ว

ดังนั้น หัวใจของงานด้าน QC จึงเป็นเรื่องสำคัญของการตรวจสอบ ให้เจอความผิดพลาดและนำข้อมูลเหล่านั้นมาคำนวณพิจารณาเพื่อตัดสินใจว่าจะปล่อยสินค้าให้ผ่านไปหรือไม่ในกรณีที่สินค้ามีปัญหาเกิดความผิดพลาด และจะยอมรับความเสี่ยงแค่ไหนที่จะปล่อยให้สินค้าที่มีปัญหาเข้าสู่ตลาดในกรณีที่ไม่ต้องการผลิตสินค้าใหม่ หรือไม่ยอมรับการสูญเสียจากความผิดพลาดในการผลิตสินค้าครั้งนั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่พนักงาน QC จะต้องใช้วิชาการและคณิตศาสตร์และความรู้ทางด้านสถิติ มาเป็นตัวตัดสินใจบนพื้นฐานของความเป็นจริง จากข้อมูลที่มีอยู่ ไม่ใช่ใช้ความรู้สึกหรืออารมณ์ตัดสินใจแทน และไม่เกี่ยวข้องกับต้นทุนที่จะต้องเพิ่มขึ้นจากการที่จะต้องทิ้งสินค้านั้นออกไปและผลิตใหม่ เพื่อให้ได้มาตรฐานที่ควรจะเป็น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปัญหานี้ มักจะเกิดขึ้นระหว่าง QC กับฝ่ายขายหรือผู้จัดการฝ่ายผลิต เพราะฝ่ายขายหรือผู้จัดการฝ่ายผลิตต้องการให้สินค้าที่ แม้จะมีปัญหาอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ พร้อมที่จะเสี่ยงระดับหนึ่งเพื่อออกสื่อสินค้า เพื่อให้สินค้าได้ส่งทันเวลา หรือเพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียในเรื่องของการยกเลิกสินค้าทิ้งไปแล้วผลิตใหม่ ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว ปัญหาเหล่านี้ จึงมักจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ระหว่างพนักงาน QC กับพนักงานฝ่ายผลิตหรือแม้กระทั่งไปจนถึงพนักงานฝ่ายขายหรือเจ้าของบริษัทเอง ที่ไม่ต้องการให้เกิดความสูญเสียจากการ Reject สินค้า

สิ่งเดียวที่พนักงาน QC จะใช้เป็นเกราะป้องกันตัวเองได้ ก็คือ การโต้แย้งทุกอย่างบนพื้นฐานของข้อมูลที่เป็นความจริงและบนวิชาสถิติ ที่คำนวณอย่างถูกต้องเท่านั้น ที่จะเป็นตัวตัดสินใจว่า จะปล่อยสินค้าไป หรือจะยกเลิกสินค้าล็อตนั้นไม่ให้ออกสู่ตลาด หน้าที่ของ QC จบอยู่ตรงนี้ตามที่ข้อมูลข้อเท็จจริงเป็นตัวตัดสินตามหลักวิชาการ

ส่วนในเชิงของพาณิชย์นั้น ก็ให้เป็นเรื่องของฝ่ายผลิตและฝ่ายขายหรือแม้แต่เจ้าของบริษัทเอง ที่ต้องเป็นผู้รับภาระความเสี่ยงในการตัดสินใจที่จะยอมเสี่ยงปล่อยสินค้าเข้าสู่ตลาดทั้งๆที่รู้อยู่แล้วว่ามันมีความเสี่ยง หรือมันมีความผิดพลาดเกิดขึ้นระดับหนึ่ง แต่เป็นเหตุผลเนื่องจาก เรื่องของกำไรขาดทุน หรือความล่าช้าในการส่งสินค้า แต่นั่นไม่อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงาน QC ต่อไปเพราะพนักงาน QC ได้ยืนยันชัดเจนแล้วว่า ควรตัดสินใจอย่างไรกับสินค้าล็อตนี้ว่า จะปล่อยไป หรือยกเลิกตามหลักวิชาการตามหลักข้อมูลและตามหลักความถูกต้องของวิชาสถิติที่ใช้ในการตัดสินใจ

 

กล่าวโดยสรุป ก็คือ ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน QA หรือ QC สิ่งที่จำเป็นต้องมีแน่นอนที่สุดสิ่งแรกก็คือ

1. ต้องเป็นคนที่มีความรู้ ทางด้านวิชาสถิติอย่างลึกซึ้งชัดเจน เพราะความรู้ทางด้านสถิติ คือ สิ่งที่จะมาใช้ในการตัดสินใจว่า จะยอมรับหรือไม่ยอมรับสินค้าที่ผลิตออกมาในชุดนั้นว่า ผ่านมาตรฐานตามข้อตกลงที่ให้ไว้กับลูกค้าหรือไม่อย่างไร

ซึ่งความส่วนพื้นฐานแรกสุด ก็คือ จะต้องมีความรู้เรื่องของค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการคำนวณช่วงต่ำสุดและสูงสุดของการปฏิเสธสินค้าในหน่วยวัดนั้นๆว่า จากค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ได้มานั้น ค่าต่ำสุดที่ยอมรับได้อยู่ตรงไหนและสูงสุดที่ยอมรับได้อยู่ตรงไหน กี่เปอร์เซ็นต์ตามข้อตกลงระหว่างผู้ผลิตกับลูกค้าตั้งแต่ครั้งแรกก่อนการผลิต

2. ในกรณีที่เกิดการถกเถียงกันนั้นว่าสินค้าล็อตนี้ แม้จะมีความผิดพลาดอยู่แต่ฝ่ายผลิตอาจจะบอกว่าปล่อยผ่านได้ คิดว่าไม่มีอะไรที่จะได้กังวล จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามของฝ่ายผลิตหรือฝ่ายขายหรือฝ่ายเจ้าของบริษัทเอง พนักงาน QC จะต้องมีความสามารถในการคำนวณค่าความน่าจะเป็น หรือ Probability เพื่อจะตอบคำถามว่า จากการสุ่มตรวจมาแล้วพบว่ามี Defect จำนวนชิ้นเท่านี้ จากการสุ่มตรวจจำนวนชิ้นทั้งหมดเท่านี้ และคำนวณออกมาเป็นความน่าจะเป็นว่ามีโอกาสกี่เปอร์เซ็นต์ ที่จะพบความผิดพลาดเมื่อนำสินค้านี้ไปใช้หรือนำไปจำหน่ายจริงๆในอนาคต และมาตัดสินใจกันว่า จะยอมรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่เราคาดเดาแล้วว่าจะเกิดขึ้นแน่นอนในอนาคตจากข้อมูลที่เก็บมาจากหลักวิชาการที่ใช้ในการคำนวณ เพื่อให้ความชัดเจนถึงความเสี่ยงหรือความน่าจะเป็นที่จะเกิดปัญหาขึ้นในระยะยาวและพร้อมที่จะรับความเสี่ยงแค่ไหน

ผู้จัดการฝ่ายควบคุมคุณภาพมีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่ผลิตโดยบริษัทเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุด