Work-life Balance คืออะไร ทำไมคนรุ่นใหม่ถึงให้ความสำคัญ?
Work-Life Balance มีความสำคัญอย่างไร?
การสนับสนุน Work-Life Balance ไม่เพียงแค่ช่วยให้พนักงานมีความสุขและสุขภาพดีขึ้น แต่ยังช่วยให้องค์กรมีประสิทธิภาพและความสำเร็จในระยะยาว
- พนักงานมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดีขึ้น การมีเวิร์คไลฟ์บาลานซ์ช่วยลดอัตราการเกิดความเครียด ความเหนื่อยล้า ภาวะ Burn out และปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคกระเพาะ กรดไหลย้อน ความดันโลหิตสูง และภาวะซึมเศร้า
- เกิดความพึงพอใจในชีวิต Work Life Balance ช่วยให้พนักงานมีเวลาพักผ่อนและทำกิจกรรมที่ชอบช่วยเพิ่มความพึงพอใจในชีวิต ทำให้รู้สึกมีคุณค่าและมีความสุข
- การมีเวลาพักผ่อนอย่างเพียงพอ สร้างสมดุลในการทำงานช่วยทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ดีขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น
- สัมพันธภาพที่ดี Work Life Balance ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัว เพื่อนฝูง รวมถึงเพื่อนร่วมงานซึ่งช่วยให้เกิดการทำงานแบบ Teamwork ได้ดียิ่งขึ้น
- เกิดการพัฒนาตัวเอง เนื่องจาก Work Life Balance ช่วยให้มีเวลาสำหรับการเรียนรู้และพัฒนาทักษะตนเองทั้งในด้านที่เกี่ยวกับการทำงานและเรื่องอื่น ๆ ที่เราสนใจมากขึ้น
- พนักงานมีประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้น การที่พนักงานมีสุขภาพดีและมีความพึงพอใจในชีวิตส่วนตัวมักมีประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้น เกิดความคิดสร้างสรรค์ และมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาได้ดี ส่งผลดีต่อองค์กร
- ลดอัตราการลาออกจากงาน (Turnover Rate) องค์กรที่สนับสนุน Work Life Balance มักจะรักษาจำนวนพนักงานและทำให้พนักงานรู้สึกดีต่อองค์กรได้ดีกว่าองค์กรที่ไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่อง Work Life Balance
- ช่วยดึงดูดพนักงานที่มีคุณภาพเข้ามาในองค์กร บริษัทที่มีนโยบายและวัฒนธรรมที่สนับสนุน Work Life Balance สามารถดึงดูดพนักงานที่มีคุณภาพเข้ามาร่วมงานได้ดี
ความสำคัญของ Work Life Balance ในมุมขององค์กร/บริษัท
ในมุมของคนทำงาน คงไม่ต้องอธิบายกันมากมาย ว่าทำไมเรื่อง Work-life balance ถึงสำคัญ เพราะการทำงานหนักมากเกินไปจนเสียสมดุล ย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมไปถึง ไม่มีเวลาในการดูแลตัวเองและจัดการเรื่องอื่น ๆ ในชีวิต
ส่วนในมุมของบริษัท ปัญหา Work-Life Balance ยังเป็นปัญหาที่หลายองค์กรยังมองข้ามอยู่ เพราะเมื่อมองอย่างผิวเผินแล้ว การที่พนักงานทุ่มเททำงานหนักให้บริษัทน่าจะเป็นเรื่องที่บริษัทได้ประโยชน์เต็ม ๆ
ความเป็นจริงแล้ว การที่พนักงานขาด Work-life balance จะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมของบริษัท/องค์กรเหมือนการที่โดมิโน่ล้มต่อกันไปเรื่อย ๆ เริ่มจากปัญหาสุขภาพพนักงานที่ย่ำแย่ลงจากการทำงานหนักและขาดเวลาในการดูแลตัวเอง ปัญหาสุขภาพใจจากการทำงาน เช่น ภาวะเครียด วิตกกังวล หรือรุนแรงถึงภาวะหมดไฟ และภาวะซึมเศร้า ฯลฯ โดยข้อมูลจาก ACAS ระบุว่า ภาวะขาด Work Life Balance เป็นสาเหตุให้พนักงานลางาน และส่งผลให้ประสิทธิภาพและ Productivity ในการทำงานลดลง
ในทางกลับกัน หากคนทำงานมี Work Life Balance ที่ดี ก็มีแนวโน้มที่พวกเขาจะทำงานได้ดีขึ้น โดยมีอีกหนึ่งงานวิจัยที่ทำการศึกษาบริษัทถึงกว่า 80% ใน Fortune 500 (500 บริษัทยักษ์ใหญ่ในอเมริกา) พบว่า คนทำงานที่เชื่อว่าตัวเองมี work-life balance ทำงานหนักมากกว่าถึง 21% เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองมีสมดุลระหว่างการงานและชีวิตที่ดี
นอกจากนี้ เรื่องของ Work Life Balance ยังสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการทำงานของพนักงาน ยิ่งถ้าพนักงานมีความพึงพอใจกับงานหรือสถานที่ทำงานก็มีแนวโน้มที่พวกเขาจะเต็มที่กับการทำงานเพื่อตอบแทนองค์กรมากกว่าอีกด้วย
คำแนะนำสำหรับพนักงาน เมื่อที่ทำงานขาด Work-Life Balance
1. นิยามและแจกแจงปัญหาที่กำลังเผชิญ
2. รักษา Work-life balance เท่าที่ทำได้ก่อน
สรุป
เรื่องของการสร้าง Work-life balance ไม่ใช่เรื่องของปัจเจกบุคคลหรือตัวคนทำงานที่ต้องรับผิดชอบเท่านั้น เพราะเป็นเรื่องยากที่คนทำงานจะรักษาสมดุลการทำงานและการใช้ชีวิต หากบริษัทไม่ได้สนับสนุนค่านิยมนี้และทำในสิ่งตรงข้าม
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการที่พนักงานขาด Work life balance ก็ส่งผลกระทบในแง่ลบต่อบริษัทหรือองค์กรได้เช่นกัน บทบาทของการส่งเสริมให้พนักงานมีสมดุลในการทำงานและการใช้ชีวิตจึงถือเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้บริษัทเติบโตขึ้นอย่างยั่งยืน หวังว่า บทความนี้ จะช่วยให้องค์กรของคุณเห็นความสำคัญของ Work-life balance และแนวทางในการปรับใช้ต่อไป